Saturday, October 9, 2010

งานช่างแกะสลัก และงานช่างไม้ประณีต

วิจิตร์ ไชยวิชิต

(นักวิชาการช่างศิลป์ ๗ ว.)

รูปภาพด้านบน : สถูปไม้ทรงเจดีย์ จตุรมุข ใช้เป็นที่บรรจุ สารีริกธาตุ ในคราวเปิดงานพรรณไม้งาม อร่ามสวนหลวง ร.๙

งานช่างแกะสลัก

งานช่างแกะสลัก เป็นงานช่างไทยที่มีมาแต่ โบราณ งานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับการแกะสลักไม้มักรวมเรียกว่า เครื่องไม้จำหลัก นับว่าเป็นงานศิลปะไทยที่อยู่เคียงคู่กับชาติ ไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ไม้เป็นวัตถุที่ เสื่อมสลาย ดังนั้นศิลปะที่ทำด้วยไม้ดังกล่าวจึงไม่เหลือเป็น หลักฐานใน ปัจจุบัน

ช่างแกะสลัก ก็คือช่างที่มีความรู้ความสามารถใน การออกแบบลวดลาย และสามารถถ่ายทอดรูปแบบและลวด ลายนั้นด้วยการใช้เครื่องมือ และของมีคมแกะสลักลงบนเนื้อ วัสดุ เช่น ไม้ หิน โลหะ เขาสัตว์ และบนวัสดุของอ่อน เช่น ผลไม้ หรือหัวของ พืช ทำให้เกิดลวดลายและภาพมีแสง เงาและระยะ เกิดความสูงต่ำภายในภาพ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ ด้วยมือและสายตา เป็นภาพสามมิติอีกทั้งช่างจะต้องมีความ เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวลายและภาพ จึงจะสามารถทำการแกะ สลักไม้เพราะการแกะสลักนั้นคือ กระบวนการที่ช่าง ต้องใช้ เครื่องมือทำการ ขุด ตัด ทอน แล้วแกะเอาเนื้อวัสดุนั้นออก ซึ่งช่างจะต้องใช้ความประณีต ต้องมีความรู้ เกี่ยวกับลักษณะ ของเนื้อวัสดุ เช่น ทางของเนื้อไม้ นอกจากนี้ยังต้องรู้เทคนิค และวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อเวลาแกะสลักไม้จะได้ไม่บิ่น และ หลุด ตลอดจนช่างควรจะรู้วิธีการประดิษฐ์เครื่องมือ คือ สิ่ว และลับให้คมอยู่เสมอ เพื่อเวลาแกะสลักจะต้องให้งานที่ออก มานั้นมีความสวยงาม


ลักษณะงานช่างแกะสลัก จึง เป็นงานช่างฝีมือซึ่งต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัว ใช้ความประณีต งานช่างแกะสลักแต่ละชิ้นไม่แตกต่างกันที่วิธีการทำงาน แต่ต่างกันที่ลักษณะของผลงานแต่ละชิ้น เช่น การแกะ สลักพระพุทธรูป ก็เห็นว่าเป็นลักษณะของการแกะสลัก แบบประติมากรรมลอยตัว


ประเภทของงานแกะสลัก
ประเภทของงานแกะสลัก แบ่งออกได้ ๓ ลักษณะ
๑. แบบภาพนูนต่ำ หรือที่เรียกกันในหมู่ช่าง ว่า ภาพหน้าจันทร์ คือ ภาพที่มองเห็นเฉพาะหน้าตรงเท่านั้นเพราะ ภาพจะนูนขึ้นมาเพียงเล็กน้อย
๒. แบบภาพนูนสูง เป็นภาพที่มองเห็นส่วนลึก กว้าง สูง เป็นสามมิติ บางภาพเกือบจะหลุดออกจากพื้นหลัง โดยการ มองจากต้านตรง
๓. แบบภาพลอยตัว เกี่ยวกับงานประติมากรรม เช่น ภาพพระพุทธรูปทั้งองค์ ซึ่งสามารถมองได้รอบด้าน

งานไม้แกะสลัก นับว่าเป็นงานศิลปกรรม ที่ช่าง ไทยทำกันมาแต่โบราณ ทั้งนี้จะเห็นได้จากผลงานแกะสลักลวด ลายประดับอาคารสถาปัตยกรรม เช่น ลวดลายหน้าบัน คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตู แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ ช่างไทยที่มีการเรียนรู้การถ่ายทอด และวิวัฒนาการฝีมือในการ ประดิษฐ์ ศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมา หลายร้อยปี ซึ่งลักษณะลวดลายแกะสลัก จะสืบทอดประเพณี นิยมโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะประจำชาติของไทย

วัสดุงานไม้แกะสลักที่นิยมใช้ คือ ไม้สัก เพราะไม้สักเป็นไม้ที่ไม่แข็งจนเกินไป สามารถใช้เครื่องมือแกะ สลักได้ง่าย นอกจากนี้ไม้สักยังเป็นไม้ที่ทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศไม่หดตัวมากนัก เมื่อแกะสลักจะไม่ทำให้เสียรูปทรง และ ยากแก่การทำลายจากการกัดกินของปลวก




รูปภาพด้านบน : บานประตูไม้แกะสลักสมัยอยุธยา


รูปภาพด้านบน : หน้าบันวิหารวัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่

เครื่องมือช่างแกะสลัก
เครื่องมือของงานช่างแกะสลักที่สำคัญๆ ก็มีสิ่วและ ค้อน

สิ่ว คือ สิ่งที่ทำจากโลหะ ที่เป็นเหล็กกล้าแข็ง และ เหนียวทำให้เกิดความคม ด้วยการตีการเจียร และตกแต่งให้เป็น หน้าต่างๆ เช่น หน้าตรง หน้าโค้ง ซึ่งมีขนาดต่างๆ กัน

สิ่วที่ใช้ในการแกะสลัก

สิ่วหน้าตรง ใช้สำหรับตอกเดินเส้นในแนวตรง และ ขุดพื้น ซึ่งมีหลายขนาด

สิ่วหน้าโค้ง โค้งเล็บมือ ใช้สำหรับตอกเดินเส้นใน ส่วนที่เป็นเส้นโค้ง และใช้ปาดแต่งแกะแรลาย


สิ่วปากเสี้ยว ลักษณะสิ่วจะเป็นมุมเฉียงไปข้างใดข้าง หนึ่ง และจะมีเป็นคู่คือเสี้ยวซ้ายหรือเสี้ยวขวา

ค้อนไม้ คือ ค้อนที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม่แก่นมะขาม ขนาดตัวค้อนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๕ – ๖ นิ้ว เหตุที่ใช้ค้อนไม้ เพราะจะได้ไม่ทำ ให้ด้ามสิ่วซึ่งเป็นเหล็กชำรุดเสียหาย และสามารถควบคุม น้ำหนักไม้อีกทั้งยังเบามือ


วิธีการแกะสลักไม้

กำหนดรูปแบบและลวดลาย นับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ จากนั้นจึงถ่ายแบบลวด ลายลงบนพื้นไม้ทาด้วยน้ำกาวหรือแป้งเปียกไว้ แล้วตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว นำกระดาษ ต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้ ต่อมาโกลนหุ่นขึ้นรูปโดยตัดทอนเนื้อไม้ ด้วยเครื่องมือช่างไม้ บ้าง เครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออก ให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้เคียง กับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ หลังจากนั้นจึงแกะสลักลวดลาย โดยใช้สิ่วที่มีความคมแกะสลักเพื่อทำ ให้เกิดลวดลายตามรูปแบบที่ต้องการ

No comments: