Sunday, October 10, 2010

ไม้ป่าปลูก

ในปัจจุบันสถานการณ์การขาดแคลนไม้ทั้งในเมืองไทย
และตลาดโลกทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากการใช้
้ไม้จำนวนมหาศาลของประชากรโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทำให้จากอดีตจนถึง ปัจจุบัน มีการตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำ
มาสนองความต้องการ ในการใช้ประโยชน์จากไม้ของมนุษย์
ตลอดมา จนเมื่อมาถึงจุดวิกฤติ หลายประเทศได้มีการห้าม
ตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ประเทศไทยมีการออก
กฏหมาย ห้ามตัดไม้ในปี พศ. 2532 , ส่วนประเทศในแถบ
ยุโรป,สหรัฐอเมริกา,แคนนาดา,และสแกนดิเนเวีย หลาย
ประเทศออกกฏหมายห้ามตัดไม้มานานหลายสิบปี เมื่อการ
ห้ามตัดไม้เกิดขึ้น ทางออกของการแก้ปัญหา ที่จะตอบสนอง
อุปสงค์จำนวนมหาศาลเหล่านี้จึงมีอยู่ทางเดียวคือการปลูก
ไม้ขึ้นเองเพื่อใช้งาน ซึ่งทำให้ในหลายประเทศมีการพัฒนา
อุตสาหกรรมสวนป่าเศรษฐกิจขึ้นอย่างมั่นคง โดยได้รับการ
สนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน มีการพัฒนากระบวน
การการผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งในด้านสายพันธุ์
พืชและในเรื่องกรรมวิธีการปลูกและดูแลรักษา ต่อเนื่องไป
จนถึงเทคโนโลยีในการแปรรูป และการผลิตสินค้าและผลิต
ภัณฑ์ต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไม้
ในตลาดโลกได้ทันเวลานั้น หลายประเทศจึงศึกษาและเสาะ
แสวงหาพันธุ์ไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตได้ดี
เหมาะกับภูมิประเทศและสภาพอากาศในพื้นที่ประเทศนั้นๆ
โดยเนื้อไม้สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้

ในประเทศไทยนับจากมีการปิดป่า สถานการณ์ความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลน ไม้ใน ตลาดมีเพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ตัว เลขการนำเข้าไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ จากต่างประเทศในปี 2548 ที่มีมากถึงประมาณปีละ 80,000 ล้านบาท และเป็นตัวเลขการนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราไม่หาทางออกไว้แต่เนิ่นๆ เชื่อว่าในอนาคตไทยต้องเจอวิกฤติขาดแคลนไม้เศรษฐกิจ และเมื่อพิจารณาไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ ที่มีการนำเข้ามาในไทย ส่วนหนึ่งจะนำเข้า จากประเทศที่ยังคงมีทรัพยากรป่าธรรมชาติหลงเหลืออยู่ แต่ก็มีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยในอนาคตไม้ที่จะนำเข้ามาในประเทศจะมาจากกลุ่มประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรม สวนป่าเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, แคนนาดา, กลุ่มประเทศทางสแกนดินีเวียเป็นต้นในปัจจุบันการผลิตไม้เพื่อใช้แปรรูปใน เมืองไทยมีเพียงไม้ยางพาราแปรรูปเท่านั้นที่มีปริมาณในตลาด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตัดโค่นยางพาราที่หมดอายุน้ำยาง โดยสามารถผลิตป้อนตลาดไม้แปรรูปในประเทศและส่งออกได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่พอเพียงเมื่อเทียบกับตัวเลขการนำเข้าในแต่ละปี แม้ว่ามีการทะยอยโค่นตัดไม้ยางพาราจำหน่ายสำหรับแปรรูปเพื่อทำสินค้าและ ผลิตภัณฑ์,เครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ แต่ปริมาณไม้ยางพาราแปรรูปก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สาเหตุมาจากไม้ยางพาราแปรรูปที่ผลิตได้

ส่วนใหญ่จะทำการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเช่น จีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ เวียตนาม,ญี่ปุ่น เป็นต้น เนื่องจากราคาไม้แปรรูปที่ส่งไปยังประเทศดังกล่าว มีราคารับซื้อที่สูงกว่าในประเทศ แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ต้องใช้ไม้ในประเทศกลับประสบปัญหาขาดแคลนไม้ ใช้งาน โดยอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณไม้ยางพารามีการขาดแคลนและมีความผันผวนก็ คือถ้าราคาน้ำยางพาราในตลาดมีราคาสูง เกษตรกรจะชะลอการตัดโค่นไม้เพื่อแปรรูปในระยะที่กำลังจะหมดน้ำยางและหันมา ขายน้ำยางแทน โดยในกรณีนี้เมื่อต้นยางอายุมากถึงจุดหนึ่งจะถึงอายุที่ต้นยางพาราจะให้น้ำ ยางในปริมาณน้อยและจะลดลงเรื่อยๆเกษตรกรจะทำการตัดโค่นต้นยางพาราเพื่อขาย ไม้ แต่หากในช่วงดังกล่าวราคาน้ำยางในตลาดราคาดี เกษตรกรก็จะชะลอการตัดโค่น หันมาขายน้ำยางอีกระยะหนึ่งก่อน ทำให้จำนวนไม้ ที่ต้องแปรรูปเพื่อป้อนตลาดนั้นชะลอตัวและมีปริมาณลดลง จะเห็นได้ว่าแม้ปริมาณการ ปลูกยางพาราในประเทศจะมีมากก็ตาม แต่ภาวะการขาดแคลนไม้ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไม้ยางพาราไม่ใช่ไม้สวนป่าโดยตรง แต่การแปรรูปไม้ยางพาราเป็นเพียงผลพลอยได้ของการปลูกสวนยางเพื่อใช้น้ำยาง เท่านั้นระยะตัดฟันที่แท้จริงต้องรอให้ไม้หมดน้ำยางประมาณอายุตั้งแต่ 25-30 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ระยะเวลาวงจรการโค่นตัดเป็นเวลานาน และให้ผลผลิตเนื้อไม้ต่อไร่ไม่สูงนัก สถานการณ์การขาดแคลนไม้ในปัจจุบัน มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตในวงกว้าง

แม้กระทั่งโรงงานผู้ผลิตเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ที่เคยใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน ส่งออก ยังพิจารณาการทำข้อตกลงนำเข้าไม้หลากชนิดจากสหรัฐอเมริกาแทน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ ส่วนไม้เบญจพรรณและไม้ชนิดอื่น ก็มีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถทำส่วนแบ่งการตลาดได้เพราะไม่มีปริมาณไม้ใน มือ

No comments: